วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

เด็กไต้หวัน 10 ขวบ พูดได้ถึง 10 ภาษา


โซเนีย หยาง

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก gmgrd.co.uk

          เว็บไซต์ เดอะซันของอังกฤษ รายงานว่า เด็กหญิงสุดอัจฉริยะคนนี้ คือ โซเนีย หยาง เด็กหญิงวัย 10 ขวบ ชาวไต้หวันสัญชาติอังกฤษ ที่ทำเอาคนทั่วโลกต่างทึ่งไปตาม ๆ กัน เมื่อเธอสามารถสื่อสารภาษาต่าง ๆ ได้มากถึง 10 ภาษา

          โดย โซเนีย หยาง เป็นชาวไต้หวันที่ย้ายมาอยู่ในเมืองสต๊อคพอร์ตของอังกฤษ ตั้งแต่ก่อนเข้าเรียนระดับประถมศึกษา ซึ่งในตอนนั้น โซเนีย หยาง ในวัยเพียง 5-6 ขวบ สามารถพูดได้ถึง 4 ภาษาเข้าไปแล้ว ทั้งภาษาไต้หวันซึ่งเป็นภาษาแม่ ภาษาญี่ปุ่น จีน และอังกฤษ ในระดับที่เรียกว่าใช้การได้ดีเหมือนเป็นภาษาแม่เลยทีเดียว และหลังจากที่เธอย้ายมาอาศัยในประเทศอังกฤษแล้ว โซเนีย หยาง ก็ได้ศึกษาภาษาอื่น ๆ ต่อเรื่อยมา และเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วจนน่าตกใจ จนกระทั่งปัจจุบันนี้ โซเนีย หยาง ในวัย 10 ขวบ สามารถพูดได้เพิ่มขึ้นอีก 6 ภาษา ได้แก่ ภาษาเยอรมัน ฝรั่งเศส สเปน โปรตุเกส และล่าสุดคือภาษาคาซัคและภาษาลูกันดา (ภาษาของอุกันดา)  แถมยังใช้เวลาเพียงไม่กี่เดือนในการตั้งหน้าตั้งตาเรียนรู้ด้วยตัวเองด้วย

          โซเนีย หยาง เปิดเผยเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาลูกันดาว่า "ภาษา ลูกันดานั้นค่อนข้างง่ายสำหรับหนู หนูคิดว่าหนูสามารถเรียนรู้ได้ง่ายกว่าคนอังกฤษค่ะ เพราะว่ามันมีหลายคำที่คล้ายคลึงกับภาษาไต้หวันมาก เรียกว่าเป็นภาษาต่างประเทศที่ง่ายที่สุดตั้งแต่หนูเรียนรู้มาเลย แต่ถ้าถามว่าภาษาไหนที่ชอบที่สุด หนูคงต้องบอกว่าเป็นภาษาอังกฤษค่ะ เพราะเป็นภาษาสากล ถ้าเราพูดได้ คนทุกคนทั่วโลกก็จะเข้าใจเราได้ค่ะ"

          ส่วนทางด้านนายฮีทเธอร์ เบอร์เน็ตต์ ผู้อำนวยการโรงเรียนกรีนแบงก์ที่ โซเนีย หยาง ได้ศึกษาอยู่ ได้เปิดเผยว่า "โซเนียเป็นเด็กที่ฉลาดมาก แถมยังขยันสุด ๆ เมื่อเทียบกับเด็กคนอื่น ๆ และนั่นทำให้เธอกลายเป็นดาวเด่นของโรงเรียน และโด่งดังไปทั่วโลกอย่างนี้"

           ทั้ง นี้ โซเนีย หยาง ยังเข้าร่วมการแข่งขันทักษะทางภาษา และมาวินเป็นอันดับหนึ่งมานักต่อนักแล้ว แถมเธอยังฮุบตำแหน่งสุดยอดเยาวชนที่พูดได้หลายภาษาแห่งภูมิภาคตะวันตกเฉียง เหนือของอังกฤษมาครองอีกด้วย

10 เหตุผลที่คุณไม่ควรพลาดหนัง “สตีฟ จ็อบส์ อัจฉริยะเปลี่ยนโลก”

steve-jobs-movie
อีกไม่กี่วันภาพยนตร์เรื่อง JOBS หรือในชื่อภาษาไทยว่า “สตีฟ จ็อบส์ อัจฉริยะเปลี่ยนโลก” ก็จะเข้าฉายในไทยวันที่ 12 กันยายนนี้แล้ว หนังเรื่องนี้นอกจากจะเป็นหนังที่หลายคนเฝ้ารอคอยแลัว ยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจอีกมากมาย
วันนี้เราจะขอนำ 10 เหตุผลที่ไม่ควรพลาดหนังเรื่องนี้มาให้ได้รับชมกัน
1. JOBS เป็นภาพยนตร์ชีวประวัติเรื่องแรกของสตีฟ จ็อบส์หลังจากที่เขาเสียชีวิตไปเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2011 โดยว่ากันว่าภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นหนังที่สร้างแรงบรรดาลใจ ให้เราได้เห็นเบื้องลึกเบื้องหลังของสตีฟ จ็อบส์
2. หนังถ่ายทำในสถานที่จริง โดยเฉพาะในโรงรถ บ้านของสตีฟ จ็อบส์ในวัยหนุ่ม ซึ่งนอกจากจะเป็นสถานที่สำคัญในหนังแล้ว เรายังได้เห็นสถานที่ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของบริษัทแอปเปิลในปัจจุบันอีกด้วย
3. เป็นหนังเรื่องแรกของซุปเปอร์สตาร์ Ashton Kutcher ที่เคยรับบทวัยรุ่นเฮฮาในหนังเรื่องก่อนๆ มาพลิกบทบาทรับบทดราม่าเข้มข้น และต้องแสดงถึงความซับซ้อนหลายบุคลิกของสตีฟ จ็อบส์ นอกจากนี้ Kutcher เองก็ยังมีหน้าตาที่คล้ายกับจ็อบส์ในวัยหนุ่มมาก อย่างกับคนๆ เดียวกันเลย
steve-jobs-house-garage

steve-jobs-movie-release-date
4. ได้รู้ต้นกำเนิดของแอปเปิล บริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลกปัจจุบัน ว่ากว่าจะมีวันนี้บริษัทได้ฝ่าฝันและสร้างสรรค์อะไรขึ้นมาบ้าง
5. หนังพาเราเข้าถึงความเป็นสตีฟ จ็อบส์ บุคคลที่ทั้งโลกยอมรับว่าเป็นอัจฉริยะ แต่ในขณะเดียวกันจ็อบส์ก็มีด้านมืดที่ย่ำแย่ และเคยเป็นบทเรียนให้กับตัวเขาเอง เราได้เรียนรู้ว่าจ็อบส์เคยผิดพลาดอะไรในอดีต จนมาเป็นผู้ที่ทรงอิทธิพลของโลกในปัจจุบัน
6. ได้รู้ที่มาของชื่อบริษัทแอปเปิล ว่ามีที่มาอย่างไร ทำไมต้องชื่อแอปเปิล ทำไมไม่ใช้ชื่ออื่น
7. เนื้อเรื่องในหนังจะเน้นชีวิตของสตีฟ จ็อบส์ในช่วงปี 1971 ถึงปี 2000 ซึ่งเป็นช่วงที่ก่อตั้งบริษัทแอปเปิล, ถูกไล่ออก, และกลับมากอบกู้บริษัทใหม่อีกครั้ง
27585_35828_644_436
jobs-movie-woz
8. ในฉาก West Coast Computer Faire ที่แอปเปิลไปเปิดบูทขาย Apple II ซึ่งเป็นฉากใหญ่และฉากสำคัญ ทีมงานได้เชิญ Daniel Kottke ตัวจริง ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์วันนั้น เข้ามาช่วยดูแลการถ่ายทำและเข้าฉากเป็นแขกรับเชิญพิเศษ เพื่อความสมจริงกับเหตุการณ์นั้นมากที่สุดอีกด้วย
9. เพื่อให้สมบทบาทมากที่สุด Ashton Kutcher ได้พยายามเลียนแบบการพูดการเดินของสตีฟ จ็อบส์ รวมไปถึงการทานแต่ผลไม้ด้วย จนเมื่อไม่กี่วันก่อนถ่ายทำจริง เขาถูกส่งเข้าโรงพยาบาลเลยทีเดียว
10. Nolan Bushnell ผู้ก่อตั้งบริษัท Atari ตัวจริงร่วมเข้าฉากในหนัง ซีนเปิดตัวโฆษณาในปี 1984 ของแอปเปิลด้วย
พบกับภาพยนตร์ “สตีฟ จ็อบส์ อัจฉริยะเปลี่ยนโลก” ได้ทุกโรงภาพยนตร์ 12 กันยายนนี้
jobs-movie Jobs-movie-screenshot-7b
Ashton-Kutcher-Ron-Eldard-and-Josh-Gad-in-Jobs-2013-Movie-Image

วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556

แนะนำ 5 เทคนิคดีๆ ในการฝึก ‘อ่านภาษาอังกฤษ’ ให้เก่งขั้นเทพ…!!

หลายคนอยากจะฝึกฝนภาษาอังกฤษโดยเริ่มจากการอ่าน เลยเริ่มไปซื้อหนังสือที่เป็นภาษาอังกฤษมาอ่าน แต่ก็เจอปัญหาว่าอ่านอย่างไรก็ไม่เข้าใจสักที และทำให้ท้อถอย หมดกำลังใจ จนล้มเลิกไปเลยก็มี
วันนี้เราเลยอยากจะแนะนำเทคนิคดีๆในการฝึกอ่านภาษาอังกฤษ ให้สามารถอ่านเข้าใจ อ่านรู้เรื่อง จนกระทั่งอ่านหนังสือเรียนภาษาอังกฤษกันได้เลยล่ะ

reading-english3
1 เริ่มจากหนังสือง่ายๆ
สำหรับคนที่หัดใหม่ แม้แต่หนังสือเรียนของเด็ก นิตยสาร หนังสือพิมพ์ ก็อาจจะยากจนเกินไป เพราะฉะนั้นไม่ต้องอายเลยที่จะไปซื้อนิทานภาษาอังกฤษของเด็ก 3 ขวบมาอ่าน ลองนึกถึงตอนเราฝึกภาษาไทยใหม่ๆตอนเด็ก เราก็อ่านนิทานของเด็ก 3 ขวบมาแล้ว ซึ่งจะทำให้เข้าใจและจับรูปแบบประโยคง่ายขึ้น

reading-english5
2 อ่านมากกว่าคนอื่น
ยิ่งทำอะไรมาก เราก็จะยิ่งเชี่ยวชาญมาก และถ้าคนอื่นอ่านแค่รอบเดียวรู้เรื่อง เราก็อาจจะต้องอ่านตั้งแต่ 2 รอบ 3 รอบ หรือกระทั่ง 4 รอบให้เข้าใจทั้งหมด แต่ก็อย่าเพิ่งท้อถอย แนะนำว่าให้พกหนังสือติดตัวตลอดเวลา และหาโอกาสอ่านบ่อยๆ อ่านในทุกๆที่ เพราะคนเราเวลาว่างที่อยู่เฉยๆวันนึงมีเยอะพอสมควร

reading-english
3 ใช้เทคนิคอ่านแบบ Skimming
คือการอ่านรอบแรกแบบผ่านๆ เพื่อให้เห็นภาพรวมว่าพูดถึงอะไร และเนื้อเรื่องทั้งหมดนั้นเป็นอย่างไร จากนั้นรอบที่ 2 ก็เริ่มจับใจความสำคัญ จดโน้ต เน้นศัพท์ที่ไม่เข้าใจ หาคำศัพท์ที่มีความหมายหลัก จะช่วยให้เราเข้าใจมากขึ้น

reading-english4
4 อย่าใช้ดิคชันนารีบ่อยๆ
แม้การเปิดดิคชันนารี จะช่วยให้เราเข้าใจความหมายของแต่ละคำ แต่การอ่านไปเปิดไปเกือบทุกคำ มันจะทำให้เราไม่รู้จักการอ่านจับใจความโดยข้ามศัพท์ที่ไม่รู้เรื่องไป เชื่อรึปล่าวว่าฝรั่งหลายคนก็ไม่เข้าใจทุกคำศัพท์ แต่ก็อ่านข้ามโดยอาศัยคำอื่นๆมาช่วยแปลความหมาย และค่อยมาเปิดหาความหมายคำที่ไม่รู้จริงๆในตอนท้าย

reading-english2
5 สู้ให้สุด และห้ามท้อ
เรื่องนี้สำคัญที่สุด หลายคนอาจจะท้อเพียงเพราะเจอคนรอบข้างบอกว่า อ่านหนังสือภาษาอังกฤษทำไม อ่านไปก็ไม่เก่งขึ้น หรือเห็นบางคนมาหัดอ่านทีหลัง แล้วไปได้เร็วกว่า เลยเกิดอาการน้อยใจ ขอให้ตั้งเป้าหมายไปที่ตัวเราคนเดียว ดูว่าเราพัฒนาขึ้นจากเมื่ออาทิตย์ก่อน เดือนก่อนหรือไม่ ตั้งเป้าระยะยาวไว้เป็นปีๆ แล้วพยายามทำตามเป้าช้าๆโดยตั้งใจ

สมาร์ทโฟน


1.สมาร์ทโฟนทำให้คุณเสียสมาธิ
นัก วิจัยจากฟินแลนด์พบว่า คนเราเริ่มติดที่จะนั่งเช็กข่าว ข้อความ อีเมล หรือข้อมูลในโซเชียล เน็ตเวิร์กต่างๆ ผ่านโทรศัพท์มือถือถี่ขึ้น ทั้งที่ยิ่งเช็กถี่มากเท่าไร โอกาสที่จะได้เจอกับข้อมูลหรือข้อความใหม่ๆ ก็ลดลงไปด้วย

ทางแก้ : นายแพทย์อันต์ติ โอลาสเวอร์ต้า ผู้วิจัยแนะว่า เราควรกำหนดเวลาการเช็กมือถือของเราให้เป็นกิจจะลักษณะ เช่นเช็กทุกครึ่งชั่วโมงหรือ 1 ชั่วโมง เพื่อจะได้มีเวลาโฟกัสกับงานหรือการเรียนมากขึ้น

2.สมาร์ทโฟนทำให้คุณป่วยได้
การ กดๆ เคาะๆ หรือลากนิ้วไปมาบนทัชสกรีน ย่อมทำให้หน้าจอเกิดการหมักหมมของเชื้อโรคไม่ต่างอะไรกับคีย์บอร์ดของ คอมพิวเตอร์ งานวิจัยชิ้นหนึ่งในวารสารจุลชีววิทยาประยุกต์ระบุว่า เมื่อนำผิวหน้าของจอสมาร์ทโฟนมาตรวจสอบ พบว่า เชื้อไวรัสที่อยู่บนหน้าจอทัชสกรีนจะติดนิ้วมือของผู้ใช้มาด้วยถึง 20-30 เปอร์เซ็นต์ และถ้าเผลอเอามือไปจับอวัยวะที่ค่อนข้างบอบบาง เช่นบนใบหน้า ก็อาจติดเชื้อหรือป่วยได้ง่ายขึ้น

ทางแก้ : หากเราติดฟิล์มกันรอยบนหน้าจอแล้วล่ะก็ ควรจะหมั่นทำความสะอาดพื้นผิวอยู่เป็นระยะๆ แถมฟิลลิปส์ยังแนะนำแบบเอาฮาด้วยว่า ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่อาจต้องจิ้มข้อความไปด้วย ร้องไห้ฟูมฟายไปด้วย (เช่น อกหัก) เพื่อจะได้ไม่เผลอยกมือขึ้นมาขยี้หรือปาดน้ำตาตอนที่ยังมีเชื้อโรคติดนิ้ว อยู่นั่นเอง

3.สมาร์ทโฟนทำให้เจ็บตา
ทีม วิจัยจากวิทยาลัยจักษุแพทย์ซูนี่สเตท รายงานว่า ไม่ว่าจะเป็นการถือจ่อๆ ใกล้ๆ เพื่อจะได้เห็นภาพในจอได้ชัดยิ่งขึ้น หรือการเพ่งดูตัวหนังสือตัวเล็กๆ ในจอย่อมทำให้ผู้ดูมีอาการล้าที่ดวงตา จนนำไปสู่อาการปวดหัว ปวดตา หรือมองเห็นภาพเบลอๆได้

ทางแก้ : เพิ่มขนาดการแสดงผลตัวอักษรทางหน้าจอให้ใหญ่ขึ้น รวมถึงพยายามรักษาระยะระหว่างดวงตากับสมาร์ทโฟนให้อยู่ที่อย่างน้อย 16 นิ้ว หรือถ้าเราติดอ่านหนังสือ่ด้วยสมาร์ทโฟน เมื่ออ่านไปได้สักระยะก็ควรพักสายตาด้วยการหลับตา หรือมองต้นไม้ใบหญ้าเพื่อความรื่นรมย์ อย่างน้อยให้ได้ 20 วินาทีก็ยังดี

4.สมาร์ทโฟนทำให้คุณเครียด
โทรศัพท์ เปิดโอกาสให้คุณมีปฏิสัมพันธ์กับโลกออนไลน์ได้ทุกวันทุกเวลา จึงเกิดความคาดหวังได้ว่าอีกฝ่ายหรือใครก็ตามจะพยายามสื่อสารกับคุณอย่างไม่ เหน็ดเหนื่อยบ้าง เรื่องนี้ทางมหาวิทยาลัยวอร์เชสเตอร์เคยวิจัยไว้ว่า นานไปความรู้สึกยิ่งสะสมยิ่งทวีคูณจนเริ่มกลายเป็นความหมกมุ่น เวลาสัญญาณความเคลื่อนไหวใดๆ เป็นต้องคิดล่วงหน้าไปแล้วว่ามีข้อความหรืออีเมลใหม่หาตนเอง แม้เอาเข้าจริงๆ จะไม่ใช่ก็ตาม

ทางแก้ : เริ่มต้นด้วยการปิดสมาร์ทโฟนของคุณสัก 1 ชั่วโมงทุกวัน แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นเป็น 2 ชั่วโมง และพยายามอย่าลักไก่ด้วยการนับเอาช่วงพักผ่อนนอนหลับรวมเข้าไปด้วยเป็นอัน ขาด