การ
หัวเราะอาจหมายถึงการหัวเราะเยาะ รู้สึกตลก สนุก
หรืออาจจะโดนจั๊กจี้ก็เป็นได้
แต่การหัวเราะแต่ละประเภทที่แตกต่างกันนั้นอาจทำให้"โครงข่ายรับรู้การ
หัวเราะ" ในสมองของผู้ฟังนั้นแตกต่างกันไป
ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ทำให้เกิดการหัวเราะนั้น
งาน
วิจัยจาก เดิร์ค ไวลด์กรูเบอร์ และทีมงาน จากมหาวิทยาลัยทูบิงเกน
เยอรมนีครั้งนี้ ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ PLOS ONE แล้ว
เผยถึงกิจกรรมในสมองขณะที่รับฟังการหัวเราะในแต่ละแบบ
การ
หัวเราะของสัตว์เป็นรูปแบบของการสื่อสารแบบหนึ่งที่ในขั้นแรกเป็นเพียงการ
ตอบสนองต่อการจั๊กจี้เท่านั้น
แต่การหัวเราะของมนุษย์นั้นมีวิวัฒนาการมานานจากความสนุก
แม้ว่าคนหลายๆคนจะหัวเราะเมื่อโดนจั๊กจี้ แต่การหัวเราะที่เรียกว่า "หัวเราะแบบสังคม" ในมนุษย์นั้น เป็นการสื่อสารที่สื่อถึงความสุข การเยอะเย้ย หรือการส่งข้อมูลรู้สำนึกไปยังคนอื่นๆ
นักวิจัยจึงได้ศึกษาว่า
ปฏิกิริยาธรรมชาติของแต่ละคนในขณะที่ได้ฟังการหัวเราะสามแบบ คือ
หัวเราะเพราะสนุก หัวเราะเยาะเย้ย และหัวเราะเพราะโดนจั๊กจี้ เป็นแบบใด
"การหัวเราะเยาะคนอื่น กับ การหัวเราะคนอื่นๆ ทำให้เกิดผลทางสังคมที่ไม่เหมือนกัน" ไวลด์กรูเบอร์ อธิบาย
"รูป
แบบการเชื่อมต่อของเซลล์ประสาทที่สมองส่วนเซลีบรัมในขณะที่รับรู้การหัวเราะ
ที่แตกต่างกันนี้ ก็จะแตกต่างกันไปด้วย แสดงถึงว่า
กลไกและกระบวนการของการรับรู้เสียงหัวเราะเหล่านี้ก็แตกต่างกันไป"
นัก
วิจัยยังพบด้วยว่า
สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลข้อมูลทางสังคมที่ซับซ้อนก็ถูกกระตุ้น
ด้วยเมื่อได้ยินเสียงหัวเราะแบบมีความสุข หัวเราะแบบเยาะเย้ย
แต่เมื่อได้ยินการหัวเราะเพราะโดนจั๊กจี้ สมองส่วนนี้จะไม่ถูกกระตุ้น
แต่
อย่างไรก็ตาม
การหัวเราะเพราะโดนจั๊กกี้นั้นก็ซับซ้อนมากกว่าการหัวเราะประเภทอื่น
และไปกระตุ้นสมองส่วนอื่นๆที่รับรู้การรับฟังที่ซับซ้อนมากแทน
การเปลี่ยนแปลงสมองส่วนที่ได้รับการกระตุ้นและรูปแบบการเชื่อมต่อนี้จึงขึ้น
อยู่กับประเภทของการหัวเราะที่ได้ยิน
รูปแบบการเชื่อมต่อของเซลล์ประสาทในสมองสามารถส่งผลต่อการรับรู้บางอย่างได้
และอาจจะส่งผลต่อสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บของคนได้ด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น