วันจันทร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ทูน่า



ฟังดูเป็นเรื่องที่ไม่น่าเป็นไปได้ เพราะร้านซูชิทั้งหลายก็ยังคงปั้นมากุโร่ขายกันอย่างเป็นล่ำเป็นสั

 แถมบางร้านยังมีโปรโมชั่นบุฟเฟ่ต์ราคาสุดเวอร์แต่กินไม่อั้นซะด้วย ซึ่งดูๆ ไปแล้วก็ไม่น่าจะมีวี่แววอะไรที่บ่งบอกว่า "ทูน่า" กำลังจะหายไปจากโลกเลยสักนิด แต่จริงแล้วมันจะเป็นแบบที่เราเข้าใจหรือเปล่า?
 
นับ เป็นความพิเศษเหนือปลาชนิดใดในโลก เพราะปลาทูน่านั้นมีระบบหมุนเวียนเลือดแบบสัตว์เลือดอุ่น จึงทำให้ร่างกายของมันมีปริมาณฮีโมโกลบินสูงกว่าปลาชนิดอื่น จนทำให้เนื้อของมันกลายเป็นสีแดง และจากการที่พวกมันสามารถโลดแล่นไปได้ทั้งในเขตอาร์กติกและโลกเขตร้อน ทำให้ปลาทูน่านั้นต้องมีการสะสมไขมันเพื่อการเดินทาง และนั่นเป็นการนำภัยอันใหญ่หลวงมาสู่ตัวมันเอง
จากข้อมูลในนิตยสาร NATIONAL GEOGRAPHIC ฉบับ เดือนเมษายน ปี 2006 ได้รายงานปริมาณการบริโภคปลาทูน่าที่เพิ่มจากไม่ถึง 1 ล้านเมตริกตัน เป็น 6 ล้านเมตริกตัน ในช่วงปี 1950 - 2004 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการในตลาดซูชิและอุตสาหกรรมอาหารทั่วโลกที่โหยหาการ บริโภคเนื้อแดงและเนื้อติดมันของปลาทูน่า ที่ไม่เพียงราคาแพงเท่านั้น 

แต่ยังมีเฉพาะในปลาทูน่าขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัมขึ้นไปอีกด้วย
 
แม้จะยังมีปลาทูน่าให้จับ แต่ใช่ว่าจะสามารถจับได้ตลอดไป จากข้อมูลของ World Wildlife Fund (WWF) หรือ องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล ได้รายงานว่า หากยังมีการทำประมงปลาทูน่าอย่าเช่นทุกวันนี้ และไม่มีการออกระเบียบการทำประมงเพื่อคุ้มครองปลาทูน่าที่เข้มงวดกว่าที่ เป็นอยู่ ในอีก 50 ปีข้างหน้า โลกอาจต้องจารึกให้ปลาทูน่าเป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่หายไปเพราะมนุษย์
 
ปัจจุบัน การทำประมงปลาทูน่าพุ่งเป้าไปที่ปลาทูน่าขนาดใหญ่ คือ ปลาทูน่าครีบเหลือง และปลาทูน่าครีบน้ำเงิน ซึ่งทั้งสองชนิดนี้ต่างเป็นปลาทูน่าขนาดใหญ่ที่เคยมีชุกชุมและพบได้ทั่วไปใน เกือบทุกมหาสมุทรทั่วโลก แต่หลังจากเทคโนโลยีด้านการประมงมีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น และมนุษย์สามารถก้าวเข้าไปในทะเลได้มากขึ้น ทำให้ปริมาณทูน่าทั้งสองสายพันธุ์มาถึงจุดวิกฤติและนำไปสู่การทำฟาร์มปลาทูน่า

ต่าง จากการทำฟาร์มปลาแซลมอน เพราะปลาทูน่าส่วนใหญ่ที่นำมาเลี้ยงในระบบฟาร์มนั้น ไม่ได้เกิดจากการเพาะพันธุ์โดยมนุษย์ แต่เป็นการกวาดต้อนฝูงปลาทูน่าในมหาสมทุรเปิด เพื่อนำมาขุนจนอ้วนด้วยอาหารที่ทางฟาร์มเป็นผู้กำหนดเอง ซึ่งแปลว่าอาหารจากฟาร์มบางแห่งไม่ใช่อาหารตามธรรมชาติของปลาทูน่า
 
จากข้อมูลของนิตยสาร NATIONAL GEOGRAPHIC ฉบับ เดิมได้พูดถึงการทำฟาร์มปลาทูน่าในช่วง 10 ปีก่อนว่าอาหารส่วนใหญ่ที่ใช้ขุนปลาทูน่านั้นเป็นอาหารสดเช่น ปลาซาร์ดีนและหมึก แต่ในระยะหลังได้มีการปรับสูตรอาหารสำหรับขุนปลาขึ้นมาใหม่โดยในเนื้อปลาผสม แป้งข้าวโพดในอัตรา 1:1 สำหรับขุนปลาในระยะแรกเพื่อทำให้ปลาทูน่าอ้วนและสะสมไขมันปริมาณมากในระยะ เวลาสั้นๆ ซึ่งเป็นเกรดที่สามารถเรียกราคาจากตลาดซูชิและอาหารญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี

จาก ระบบการทำฟาร์ม อาจทำให้มนุษย์มีปลาทูน่าปริมาณมากไว้บริโภคได้ตลอดทั้งปีในราคาที่ถูกลง แต่นั่นไม่ได้หมายความปริมาณปลาในธรรมชาติจะเพิ่มขึ้น แต่กลับเป็นการเร่งขบวนการสูญพันธุ์ของทูน่าให้เร็วยิ่งขึ้น 

เพราะ ปลาอ้วนๆ เหล่านี้มักถูกส่งไปขายก่อนที่จะถึงวัยเจริญพันธุ์ เมื่อบวกกับปริมาณปลาในธรรมชาติที่เหลือน้อยเต็มที ทำให้โอกาสที่ประชากรทูน่าจะกลับมานั้นเป็นไปได้ยาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น