วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

หลุยส์ เบรลล์





อักษรเบรลล์
อักษรเบรลล์ (The braille Code) เป็นอักษรสำหรับคนตาบอด ประดิษฐ์โดย หลุยส์ เบรลล์(Louis Braille) ครูตาบอดชาวฝรั่งเศส มีลักษณะเป็นจุดนูนเล็กๆ ใน 1 ช่องประกอบด้วยจุด 6 ตำแหน่ง ซึ่งนำมาจัดสลับกันไปมาเป็นรหัสแทนอักษรตาดีหรือสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาตร์ โน้ตดนตรี ฯลฯ การเขียนใช้เครื่องมือเฉพาะเรียก สเลท (Slate) และดินสอ (Stylus) การพิมพ์ใช้เครื่องพิมพ์เรียก เบรลเลอร์ (Brailler) ใช้กระดาษหนาขนาดกระดาษวาดรูป
http://www.studentkm.net/uploads/blog/user/13/louis_braillePic_2011-01-06-16-52-26.jpg

ประวัติ หลุยส์ เบรลล์

หลุยส์ เบรลล์ (Louis Braille) ชาวฝรั่งเศสผู้ประดิษฐ์ "อักษรเบรลล์” วันเกิด 4 มกราคม ค.ศ.1809 ณ หมู่บ้านคูปเฟรย์ ทางตะวันออกของกรุงปารีส บ้านของครอบครัวหลุยส์ อยู่บนถนน เชอแมง เดอ บัตส์ แต่ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นถนน หลุยส์ เบรลล์ เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ หลุยส์ เบรลล์ นักประดิษฐ์ที่เคยใช้ชีวิตวัยเด็กที่นั่น
เบรลล์ประสบอุบัติเหตุขณะกำลังเล่นอยู่ในร้านของพ่อ เนื่องจากเครื่องมือช่างของพ่อที่หลุยส์เอามาใช้หลุดมือแล้วบาดทิ่มดวงตาใน ขณะที่พ่อไม่อยู่ หลังจากนั้นพ่อแม่ได้รีบพาเขาไปพบหมอประจำท้องถิ่นทันทีแต่ในสมัยนั้นแพทย์ ไม่เข้าใจถึงสาเหตุและการควบคุมการติดเชื้อ จึงได้แต่เฝ้าดูดวงตาที่บาดเจ็บของหลุยส์ เบรลล์ ซึ่งบวมแดงและเหมือนมีรอยถลอก จนลามไปที่ตาอีกข้างหนึ่ง
จนในเวลาต่อมา หลุยส์ เบรลล์ เริ่มมองเห็นวัตถุต่างๆรอบตัว พร่ามัวไปหมด และในการทำกิจวัตรต่างๆ เขาจะเดินสะดุดและชนสิ่งของต่างๆจนอายุได้ 5 ขวบตาของหลุยส์ก็บอดสนิท
เบรลล์ยังคงเข้าเรียนหนังสือรวมกับเด็กตาดีคนอื่น แต่ก็พบอุปสรรคใหญ่หลวง เพราะไม่ สามารถอ่านและเขียนได้ เช่น เด็กตาดี
อายุ 10 ขวบ เบรลล์จึงถูกส่งไปเข้าโรงเรียนสอนเด็ก ตาบอดชายในกรุงปารีส ซึ่งเป็นโรงเรียนสอนคนตาบอดแห่งแรก ๆ ของโลก แม้ว่าโรงเรียนจะมีกฎระเบียบเข้มงวดและนักเรียนต้องอยู่ในตึกที่อับชื้นก็ ยังต้องนับว่าเขาโชคดี เพราะในยุคนั้นผู้คนมีชีวิตลำเค็ญกระทั่งเด็กตาดีก็ยังต้องออกจากโรงเรียน ตั้งแต่อายุ 12 เพื่อทำงาน ในโรงงานและเหมืองถ่านหิน ทีนี่ เบรลล์ได้ฝึกอาชีพและหัดอ่านตัวอักษรโรมันที่พิมพ์นูนซึ่งเป็นระบบที่ใช้กัน อย่างแพร่หลาย แต่การจำแนกตัวอักษรนูน ดังกล่าวด้วยปลายนิ้วยังเป็นเรื่องยากสำหรับคนตาบอด
วันหนึ่งทหารปืนใหญ่ใจบุญชื่อ ชารลส์ บาร์บิเยร์ ได้เดินทางมาเยี่ยมโรงเรียนแห่งนี้ วันนั้นคงเป็นเหมือนวันอื่น ๆ ถ้าบาร์บิ เยร์ ไม่ได้เป็นผู้คิดระบบการกดจุดนูนบนกระดาษแข็งที่ทหารใช้อ่านด้วยนิ้วสัมผัส เพื่อส่งคำสั่งในสนามเพลาะตอนกลางคืนโดยไม่ต้องพูดเสียงดัง
ระบบดังกล่าวประกอบด้วยจุดนูนทั้งหมด 12 จุด แบ่งเป็น 2 แถว แต่ละแถวมีจุดนูน 6 จุด แต่ระบบ นี้ยากเกินกว่า ที่ทหารจะใช้ได้อย่างจริงจังจนต้องเลิกใช้ไปในที่สุด
แต่ในขณะนั้น เบรลล์ ซึ่งมีอายุแค่ 12 ขวบ รู้ว่าจุดพวกนี้มีประโยชน์ เขาคิดว่าน่าจะทำให้ง่ายขึ้นได้ และลองผิดลองถูกอยู่ นานกว่าจะค้นพบระบบ 6 จุด (2 แถว แถวละ 3 จุด) ซึ่งสร้าง ตัวอักษรและเครื่องหมายต่าง ๆ ได้ 64 แบบ ครอบคลุมตัวเลข คำย่อ และโน้ตดนตรีด้วย
พอ เบรลล์อายุ 20 หนังสือเล่มแรกของเขาชื่อ Method of Writing Words, Music and Plain Song by Means of Dots, for Use by the Blind and Arranged by Them ก็ได้รับการตีพิมพ์เขาทำงานเป็นครูในโรงเรียนที่เขา เคยร่ำเรียนมาและเป็นครูที่เด็ก ๆ รัก
เมื่ออายุได้ 15 ปี เขาได้คิดประดิษฐ์อักษรเบรลล์ซึ่งเป็นอักษรสำหรับให้คนตาบอดใช้มือคลำอ่าน อาศัยแนวคิดจากตัวโดมิโนที่มี 6 จุด จัดวางไว้เป็นกลุ่มสร้างเป็นลักษณะจุดนูนแทนค่าพยัญชนะต่างๆ เขาสามารถสร้างอักษรที่แตกต่างกันออกมาได้ 63 แบบ ซึ่งสามารถแทนค่าตัวอักษรทุกตัวที่มีอยู่ได้จนหมดสิ้น
รวมทั้งเครื่องหมายวรรคตอนและคำย่อต่างๆ ลักษณะของจุดนูนช่วยให้คนตาบอดอ่านได้ด้วยการสัมผัส คือใชปลายนิ้วลูบไปบนลายนูน ในช่วงเวลาที่เบรลล์ยังมีชีวิตอยู่ อักษรเบรลล์ที่เขาคิดค้นขึ้นยังไม่เป็นที่แพร่หลาย จนกระทั่งหลังจากเขาได้เสียชีวิตไปแล้ว ระบบอักษรดังกล่าวจึงค่อยๆ เป็นที่ยอมรับและแพร่หลาย กลายเป็นภาษามาตรฐานสำหรับคนตาบอด
ตัวอักษรเบรลล์

ส่วนประกอบ

รูปที่่่่่ 1 ตำแหน่งของปุ่มนูนในอักษรเบรลล์ขนาด 1 เซลล์
รูปที่่่่่ 1 ตำแหน่งของปุ่มนูนในอักษรเบรลล์ขนาด 1 เซลล์ 
 จุดทั้ง 6 ใช้สร้างอักษรเบรลล์
ตัวอักษรเบรลล์จะมีจุดทั้งหมด 6 จุด เรียงกันเป็น 2 แถวในแนวตั้ง นับจากด้านซ้าย จากบนลงล่าง เป็น 1-3 และด้านขวา จากบนลงล่าง เป็น 4-6 โดยใช้การมีจุดและไม่มีจุดเป็นรหัส กล่าวคือวงกลมทึบ ● หมายถึงจุดนูน และวงกลมโปร่ง ○ หมายถึงจุดที่ไม่ใช้ วิธีนี้สามารถทำได้ถึง 63 ตัวอักษร (มาจาก (2^6)-1) การกำหนดรหัสตัวอักษร 10 ตัวแรก A-J จะใช้จุด 1 2 4 และ 5 สลับกันไป 10 ตัวต่อมา K-T จะเติมจุดที่ 3 ลงไปในอักษร 10 ตัวแรก และ 5 ตัวสุดท้าย(ไม่นับ W เพราะ ณ เวลานั้นภาษาฝรั่งเศสไม่ใช้ W) เติมจุดที่ 3 และ 6 ลงไปในอักษร 5 ตัวแรก
รูปที่ 2 อักษรเบรลล์ที่กำหนดใช้แทนพยัญชนะไทย          
    
รูปที่ 3 อักษรเบรลล์ที่กำหนดใช้แทนสระและวรรณยุกต์ไทย
   รูปที่ 3 อักษรเบรลล์ที่กำหนดใช้แทนสระและวรรณยุกต์ไทย 
 รูปที่ 2 อักษรเบรลล์ที่กำหนดใช้แทนพยัญชนะไทย


รูปที่ 4 อักษรเบรลล์ที่กำหนดใช้แทนอักษรในภาษาอังกฤษ
รูปที่ 4 อักษรเบรลล์ที่กำหนดใช้แทนอักษรในภาษาอังกฤษ
รูปที่ 5 เครื่องหมายนำเลข
รูปที่ 5 เครื่องหมายนำเลข

การบันทึกและแสดงผลอักษรเบรลล์แบบดั้ง เดิมทำได้โดยการใช้ดินสอ (Stylus) กดลงบนด้านหลังของกระดาษให้เกิดรอยบุ๋มในตำแหน่งที่กำหนดด้วยช่องว่างบนแผ่น สเลต (Slate) เมื่อพลิกด้านหน้าของกระดาษกลับขึ้นมาจะได้ปุ่มนูนของอักษรเบรลล์ตามต้องการ การใช้งานระบบอักษรเบรลล์แบบนี้ผู้ใช้ต้องฝึกฝนจนชำนาญเนื่องจากการเขียนให้ เกิดปุ่มนูนบนกระดาษจะกลับด้านกันกับการอ่านอักษรผ่านสัมผัสที่ปลายนิ้ว รูปที่ 5 แสดงอุปกรณ์ที่ใช้เขียนอักษรเบรลล์บนกระดาษและการอ่านอักษรเบรลล์ด้วยสัมผัส ที่ปลายนิ้ว


รูปที่ 5 ดินสอและสเลตสำหรับการบันทึกอักษรเบรลล์ลงบนกระดาษ
และการอ่านอักษรเบรลล์ผ่านปลายนิ้วสัมผัส
รูปที่ 5 ดินสอและสเลตสำหรับการบันทึกอักษรเบรลล์ลงบนกระดาษ และการอ่านอักษรเบรลล์ผ่านปลายนิ้วสัมผัส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น